Imagine dining in a European capital where you do not know the local language. The waiter speaks little English, but by hook or by crook you manage to order something on the menu that you recognise, eat and pay for. Now picture instead that, after a hike goes wrong, you emerge, starving, in an Amazonian village. The people there have no idea what to make of you. You mime chewing sounds, which they mistake for your primitive tongue. When you raise your hands to signify surrender, they think you are launching an attack.
Communicating without a shared context is hard. For example, radioactive sites must be left undisturbed for tens of thousands of years; yet, given that the English of just 1,000 years ago is now unintelligible to most of its modern speakers, agencies have struggled to create warnings to accompany nuclear waste. Committees responsible for doing so have come up with everything from towering concrete spikes, to Edvard Munch’s “The Scream”, to plants genetically modified to turn an alarming blue. None is guaranteed to be future-proof.
Some of the same people who worked on these waste-site messages have also been part of an even bigger challenge: communicating with extraterrestrial life. This is the subject of “Extraterrestrial Languages”, a new book by Daniel Oberhaus, a journalist at Wired.
Nothing is known about how extraterrestrials might take in information. A pair of plaques sent in the early 1970s with Pioneer 10 and 11, two spacecraft, show nude human beings and a rough map to find Earth—rudimentary stuff, but even that assumes aliens can see. Since such craft have no more than an infinitesimal chance of being found, radio broadcasts from Earth, travelling at the speed of light, are more likely to make contact. But just as a terrestrial radio must be tuned to the right frequency, so must the interstellar kind. How would aliens happen upon the correct one? The Pioneer plaque gives a hint in the form of a basic diagram of a hydrogen atom, the magnetic polarity of which flips at regular intervals, with a frequency of 1,420MHz. Since hydrogen is the most abundant element in the universe, the hope is that this sketch might act as a sort of telephone number. | ลองจินตนาการว่าคุณกำลังทานมื้อเย็นอยู่ในเมืองหลวงแห่งหนึ่งในยุโรป ที่ที่คุณไม่รู้จักภาษาท้องถิ่นของพวกเขาเลย บริกรก็พูดภาษาอังกฤษแบบงูๆ ปลาๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าคุณไปทำอีท่าไหน คุณสามารถสั่งอาหารเมนูหนึ่งที่คุณบังเอิญรู้จัก รับประทาน และจ่ายเงิน ตอนนี้ลองจินตนาการใหม่ว่า มีบางอย่างผิดพลาด คุณไปโผล่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งของชาวแอมะซอน คุณหิวโหย ผู้คนที่นั่นไม่รู้ว่าคุณเป็นใคร คุณพยายามสื้อสารด้วยการทำเสียงเคี้ยว พวกเขาเข้าใจผิดว่าเป็นลิ้นอันป่าเถื่อนของคุณ เมื่อคุณยกมือแสดงอาการยอมจำนน พวกเขากลับคิดว่าคุณกำลังเข้าจู่โจม การสื่อสารโดยปราศจากบริบทร่วมนั้นเป็นไปได้ยาก เช่น สถานที่ที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีจะต้องถูกทิ้งร้างกว่าหมื่นๆ ปี ทว่าเพียงแค่หนึ่งพันปีให้หลัง ผู้คนในยุคใหม่นี้ก็ไม่สามารถเข้าใจภาษาอังกฤษเมื่อหนึ่งพันปีก่อนได้แล้ว ฉะนั้นหน่วยงานต่างๆ จึงประสบกับความยากลำบากเป็นอย่างมากในการสื่อสารเพื่อเตือนภัยจากขยะนิวเคลียร์ คณะกรรมการผู้รับผิดชอบจึงทดลองใช้วิธีการต่างๆหลากหลายวิธี ตั้งแต่การตั้งเสาคอนกรีดสูงใหญ่ ไปจนถึงการใช้รูป “เดอะ สครีม” ของเอ็ดวาร์ด มังค์ และใช้พืชที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อเปลี่ยนสัญญาณเตือนให้กลายเป็นสีน้ำเงิน ทั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นการการันตีว่าวิธีการที่ว่ามาทั้งหมดนี้จะใช้ได้ในอนาคต ผู้คนบางส่วนในกลุ่มเดียวกันนี้ซึ่งรับผิดชอบเรื่องข้อความเตือนภัยสถานที่ที่มีขยะนิวเคลียร์ ยังเป็นส่วนหนึ่งของความท้าทายที่ใหญ่ยิ่งกว่า คือ การสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตต่างดาว นี่เป็นหัวข้อหลักในหนังสือ “ภาษาต่างดาว” ซึ่งเขียนโดยนักข่าวจากแมกกาซีน Wired นามว่า แดเนียล โอบาโคส สิ่งมีชีวิตนอกโลกใช้วิธีรับข้อมูลข่าวสารอย่างไรยังไม่มีใครรู้ ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1970 มีการส่งแผ่นสลักโลหะสองชิ้นขึ้นไปบนอวกาศพร้อมกับยานอวกาศ พิโอเนีย 10 และ 11 โลหะดังกล่าวสลักรูปมนุษย์เปลือยกายและแผนที่คร่าวๆสำหรับการตามหาโลก ซึ่งเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่นั่นก็อยู่บนสมมุติฐานว่ามนุษย์ต่างดาวสามารถมองเห็นได้ เนื่องจากการที่มนุษย์ต่างดาวจะพบยานอวกาศเช่นนี้มีโอกาสริบหลี่มาก การส่งสัญญาณคลื่นวิทยุแพร่ออกไปจากโลก ที่สามารถเดินทางด้วยความเร็วแสง น่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่าสำหรับการติดต่อสื่อสาร อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกันกับที่มนุษย์โลกต้องปรับคลื่นวิทยุในโลกให้ถูกต้อง คลื่นวิทยุต่างดาวก็จะต้องปรับให้อยู่ในคลื่นที่ถูกต้องเช่นกัน คำถามคือมนุษย์ต่างดาวจะปรับคลื่นให้ถูกต้องได้อย่างไร แผ่นโลหะของยาน พิโอเนีย มีลักษณะคล้ายกับกับรูปทรงของโครงสร้างอะตอมไฮโดรเจน ขั้วแม่เหล็กที่หมุนในช่วงเวลาที่คงที่ มีความถี่เป็น 1420 เมกะเฮิร์ท ด้วยความที่ไฮโดรเจนเป็นสสารที่มีอยู่มากเหลือในจักรวาล ความหวังก็คือรูปทรงนี้จะสามารถทำหน้าที่คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ประเภทหนึ่ง |